เรื่อง : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ
ปริญญานิพนธ์ : วราภรณ์ วราหน
เสนอต่อบัญฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย สิงหาคม 2556
จากการเรียนของเด็กไทยพบว่าความสามารถของเด็กไทยในด้านการคิดคำนวณ มีคะเเนนเฉลี่ยต่ำสุด เนื่องจากการสอนที่ใช้วิธีการสอนในรูปสัญลักษณ์ คือ สอนด้วยการใช้วาจา และใช้ภาษาเขียน การสอนแบบเก่าเป็นการสอนที่พยายามยัดเยียดโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กอย่างเป็นทางการมากกว่า การเปิดโอกาสให้เด็กสร้างความรู้ด้วยตนเองจากการทำกิจกรรม
ความมุ่งหมาย
เพื่อศึกษาระดับเเละเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐม ก่อนเเละหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ
กลุ่มตัวอย่างการวิจัย
เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมานรดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ได้มาโดยวิธีการเลือเเบบเจาะจง เลือกห้องเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มา 1 ห้องเรียน
ระยะเวลาในการทดลอง
ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ระยะเวาในการทดลอง 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ 1 ครั้งๆ ละ 30 นาที
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวเเปรอิสระ ได้เเก่ การจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ
2. ตัวเเปรตาม ได้เเก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
2.1 การรู้ค่าจำนวน
2.2 การเปรียบเทียบ
2.3 การเรียงลำดับ
2.4 การจัดหมวดหมู่
สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
การดำเนินการทดลอง
1.ผู้วิจัยทำการทดสอบก่อนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาพื้นฐานทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน
2.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมการปั้นกระดาษ ให้เด็กทำกิจกรรมการปั้นต่างๆก่อนการเรียนคณิตศาสตร์ ใช้เวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 30 นาที ช่วงเวลา 9:30-10.30 รวมทั้งหมด 24 วัน
3.เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง กับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ฉบับเดียวกันกับแบบทดสอบที่ใช้กับกลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลอง
4.นำคะแนนที่ได้ไปวิเคราะห์
สรุปผลการวิจัย
1.ผลการเปรียบเทียบเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและหลังการจัดกิจกรรมการปั้น สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการปั้น
2.หลังการจัดกิจกรรมการปั้นเด็กมีพื้นฐานการรู้ค่าจำนวน(การนับ) การเปรียบเทียบ(สูง-เตี้ย ใกล้-ไกล) การจัดหมวดหมู่(ตามรูปทรง ขนาด) การเรียงลำดับ(เรียงลำดับก้อนหินจากเล็กไปหาใหญ่) สูงขึ้น
ปริญญานิพนธ์ : วราภรณ์ วราหน
เสนอต่อบัญฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย สิงหาคม 2556
จากการเรียนของเด็กไทยพบว่าความสามารถของเด็กไทยในด้านการคิดคำนวณ มีคะเเนนเฉลี่ยต่ำสุด เนื่องจากการสอนที่ใช้วิธีการสอนในรูปสัญลักษณ์ คือ สอนด้วยการใช้วาจา และใช้ภาษาเขียน การสอนแบบเก่าเป็นการสอนที่พยายามยัดเยียดโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กอย่างเป็นทางการมากกว่า การเปิดโอกาสให้เด็กสร้างความรู้ด้วยตนเองจากการทำกิจกรรม
ความมุ่งหมาย
เพื่อศึกษาระดับเเละเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐม ก่อนเเละหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ
กลุ่มตัวอย่างการวิจัย
เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมานรดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ได้มาโดยวิธีการเลือเเบบเจาะจง เลือกห้องเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มา 1 ห้องเรียน
ระยะเวลาในการทดลอง
ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ระยะเวาในการทดลอง 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ 1 ครั้งๆ ละ 30 นาที
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวเเปรอิสระ ได้เเก่ การจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ
2. ตัวเเปรตาม ได้เเก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
2.1 การรู้ค่าจำนวน
2.2 การเปรียบเทียบ
2.3 การเรียงลำดับ
2.4 การจัดหมวดหมู่
สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
การดำเนินการทดลอง
1.ผู้วิจัยทำการทดสอบก่อนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาพื้นฐานทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน
2.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมการปั้นกระดาษ ให้เด็กทำกิจกรรมการปั้นต่างๆก่อนการเรียนคณิตศาสตร์ ใช้เวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 30 นาที ช่วงเวลา 9:30-10.30 รวมทั้งหมด 24 วัน
3.เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง กับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ฉบับเดียวกันกับแบบทดสอบที่ใช้กับกลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลอง
4.นำคะแนนที่ได้ไปวิเคราะห์
สรุปผลการวิจัย
1.ผลการเปรียบเทียบเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและหลังการจัดกิจกรรมการปั้น สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการปั้น
2.หลังการจัดกิจกรรมการปั้นเด็กมีพื้นฐานการรู้ค่าจำนวน(การนับ) การเปรียบเทียบ(สูง-เตี้ย ใกล้-ไกล) การจัดหมวดหมู่(ตามรูปทรง ขนาด) การเรียงลำดับ(เรียงลำดับก้อนหินจากเล็กไปหาใหญ่) สูงขึ้น
ที่มา ข้อมูลเพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น